ตำรวจ เผยความพร้อมในการรับมือ ม็อบ7สิงหา โดยระบุว่าได้เตรียม 38 กองร้อยประจำ 14 จุด พร้อมเตือนผู้ชุมนุมว่ากำลังฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รองผบช.น.โฆษก บช.น. ได้ออกมาแถลงเกี่ยวกับการชุมนุมในวันที่ 7 สิงหาคม ที่จะถึงนี้ โดยบอกว่า มีการนัดหมายชุมนุม 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเยาวชนปลดแอก ที่นัดหมายบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เคลื่อนไปพระบรมมหาราชวัง และกลุ่มอาชีวะพิทักษ์ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นัดจัดกิจกรรมคาร์ม็อบ เคลื่อนไปทำเนียบรัฐบาล และ กลุ่มแดงก้าวหน้า 63 ที่มีการรวมตัวในจังหวัดต่าง ๆ
ก่อนเคลื่อนตัวมาอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จึงย้ำเตือนว่า
ขณะนี้ กรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด การรวมตัวมั่วสุม ไม่สามารถทำได้ตามกฎหมาย โดยจะเข้าข่ายความผิดหลายข้อหา ทั้งการฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พ.ร.บ.ควบคุมโรคติดต่อฯ
“ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจมีการจัดเตรียมกำลังไว้ 38 กองร้อย และมีกำลังสนับสนุนเพียงพอรองรับสถานการณ์ ในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย พร้อมตั้งจุดตรวจค้น 14 จุด รอบพื้นที่ชุมนุม เพื่อป้องกันเหตุร้าย และมือที่สาม ซึ่งแนวรั้งหน่วงสุดท้ายจะอยู่บริเวณหน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ และสะพานชมัยมรุเชฐ พร้อมยอมรับว่า การข่าว อาจจะมีการกระทบกระทั่งอย่างรุนแรง เนื่องจาก พบความเคลื่อนไหวของกลุ่มเดิม ๆ ที่มักใช้วิธีการที่รุนแรง หรือใช้สิ่งเทียมอาวุธในการชุมนุมบ่อยครั้ง
ซึ่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ประชุมซักซ้อมการปฏิบัติ เน้นย้ำการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ทั้งเจ้าหน้าที่ สื่อมวลชน และประชาชน หากพบมีความพยายามบุกรุก เผาทรัพย์ หรือใช้ระเบิดเพลิง ตำรวจก็ต้องใช้มาตรการป้องกัน ไม่ให้เหตุการณ์ลุกลามบานปลาย โดยใช้ยุทธวิธีตามหลักสากล ส่วนแกนนำที่มีคดีหรือหมายจับ ย้ำว่า หากพบเมื่อไหร่ ก็จะมีการจับกุมดำเนินคดีทันที” รองผบช.น. กล่าว
ด่วน! ศาลแพ่ง ห้าม นายกฯใช้ ข้อบังคับ 29 ควบคุมสื่อ
ศาลแพ่ง ตัดสินห้าม ประยุทธ์ ใช้ ข้อบังคับ 29 กับสื่อมวลชน ซึ่งว่าด้วยการนำเสนอ ข่าวปลอม สร้างความหวาดกลัวให้ประชาชน หรือ ข่าวที่มีเนื้อหาบิดเบือน เพจ สื่อศาล ได้โพสต์ข้อความเฟซบุ๊กถึงคำตัดสินของศาลแพ่ง ต่อกรณีที่สื่อมวลชนรวมตัวฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต่อกรณีข้อบังคับ 29 ที่ระบุว่าห้ามสื่อเผยแพร่ข่าวปลอม สร้างความหวาดกลัวให้ประชาชน หรือ ข่าวที่มีเนื้อหาบิดเบือน เมื่อวันที่ 2 ส.ค. ที่ผ่านมา
โดยเอกสารระบุว่า “ตามที่ปรากฏเป็นข่าวต่อสาธารณะว่า เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 ศาลแพ่งมีคําสั่งให้รับคํา ฟ้องในคดีหมายเลขดําที่ พ3618/2564 ที่บริษัท รีพอร์ตเตอร์ โปรดักชั่น จํากัด กับพวกรวม 12 คน ยื่นฟ้อง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ขอให้ศาลมีคําพิพากษาเพิกถอนข้อกําหนดที่ออกตามความใน มาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 29) ลงวันที่ 29กรกฎาคม 2564พร้อมรับคําร้องขอให้ศาลไต่สวนคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉิน
โดยขอให้ศาลมี คําสั่งให้ระงับการบังคับใช้ข้อกําหนดดังกล่าวและห้ามมิให้นํามาตรการ คําสั่ง หรือการกระทําใดๆที่สั่งการตาม ประกาศดังกล่าวมาใช้กับฝ่ายโจทก์ ประชาชนและสื่อมวลชนไปจนกว่าศาลจะมีคําพิพากษาถึงที่สุดในคดีนี้ และ ศาลนัดฟังคําสั่งวันที่ 6 สิงหาคม 2564 เวลา 13.30 น. นั้น
บัดนี้ ศาลแพ่งในคดีหมายเลขดําที่ พ3618/2564 ได้ออกนั่งพิจารณาไต่สวนพยานหลักฐาน แล้วมีคําสั่งอันสรุปใจความได้ว่า “ข้อกําหนดฯ ข้อ 1 ที่ห้ามเผยแพร่ข้อความอันอาจทําให้ประชาชนเกิดความ หวาดกลัว มิได้จํากัดเฉพาะข้อความอันเป็นเท็จตั้งเหตุผลและความจําเป็นตามที่ระบุไว้ในการออกข้อกําหนด ดังกล่าว ย่อมเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของโจทก์ทั้งสิบสองและประชาชนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติคุ้มครองไว้
ทั้งยังไม่ต้องด้วยข้อกําหนดฯ ที่ระบุว่า จําเป็นต้องมีมาตรการที่ กําหนดให้การใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกเป็นไปอย่างมีเหตุผล ถูกต้องตามข้อเท็จจริงตามกรอบที่ รัฐธรรมนูญกําหนด ทั้งข้อความอันอาจทําให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวตามข้อกําหนดข้อดังกล่าวนั้น มี ลักษณะไม่แน่ชัดและขอบเขตกว้าง ทําให้โจทก์ทั้งสิบสอง ประชาชนและผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนไม่มั่นใจ ในการแสดงความคิดเห็นและสื่อสารตามเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 34 วรรคหนึ่ง และมาตรา 35 วรรค หนึ่ง บัญญัติคุ้มครองไว้
นอกจากนี้ยังเป็นการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ ไม่ต้องด้วย มาตรา 26 วรรคหนึ่ง แห่งรัฐธรรมนูญฯ ทั้งข้อกําหนดดังกล่าวก็ไม่ได้กําหนดหลักเกณฑ์หรือแนวทางในการ ปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่โจทก์ทั้งสิบสองหรือ ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ ตามความในมาตรา 9 วรรคสอง แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ส่วนข้อกําหนดฯ ข้อ 2 ที่ให้อํานาจระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่เลขที่อยู่ไอพี (IP address) ที่มีการเผยแพร่ข้อความหรือข่าวสารในอินเทอร์เน็ตที่ฝ่าฝืนข้อกําหนดฯ ไม่ปรากฏว่ามาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ให้อํานาจนายกรัฐมนตรีออก ข้อกําหนดให้ดําเนินการระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ต
จึงเป็นข้อกําหนดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อินเทอร์เน็ตมี ความสําคัญต่อการดําเนินชีวิตประจําวัน โดยเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease : COVID-19) และรัฐสั่งปิดพื้นที่หรือล็อกดาวน์จํากัดการเดินทางหรือ การพบปะระหว่างบุคคล
แนะนำ : เคล็ดลับต่างๆ | เว็บรวมวิธีต่างๆ How to | จัดอันดับซีรีย์ | รีวิวครีม